BG Section 2 scaled

ร้อยไหมยกกระชับ และปรับรูปหน้า

Depositphotos 397276908 XL removebg preview 1
image

ร้อยไหมกับแพทย์ที่ได้ชื่อเป็น ‘แพทย์ต้นแบบผู้บุกเบิกการร้อยไหมละลายของเมืองไทย’

ในช่วงปลายปี พศ. 2552 มีแพทย์ชาวเกาหลีชื่อ Dr. Kwon Han Jin ได้คิดค้นวิธีการร้อยไหมแบบใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่าเทคนิค Ultra V Lift โดยได้เชิญ นพ.พุฒิพงศ์ ภูมิสุวรรณ ร่วมทำวิจัยค้นคว้าเทคนิคการร้อยไหมแบบใหม่ โดยเทคนิคใหม่นี้คือการนำเอาวัสดุที่สลายตัวได้ที่ชื่อว่า PDO (Polydioxanone) ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ทำไหม ซึ่งใช้ในงานศัลยกรรมหลอดเลือดและหัวใจในเด็ก ไหมแบบใหม่นี้จะมีขนาดเล็กมากคือมีขนาดเท่าเส้นผม และสลายตัวหมดภายใน 6-8 เดือน หลักการก็ คือเมื่อร้อยเข้าไปใต้ผิว มันจะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนและทำให้เกิดการยกกระชับ จากนั้นไหมก็จะสลายตัวหมดไปเองไม่ต้องกังวลเรื่องสารตกค้าง และในช่วงกลางปี 2554 Dr. Kwon Han Jin และ นพ.พุฒิพงศ์ ภูมิสุวรรณ ก็ได้ร่วมกันเปิดตัวเทคนิคการร้อยไหมแบบใหม่นี้ในงานสัมมนาสมาคมแพทย์ความงามที่กรุงเทพ นับแต่นั้นเพียงไม่กี่เดือนเทคนิคการร้อยไหมนี้ก็โด่งดังและแพร่หลายไปทั่วเมืองไทย ทำให้คุณหมอพุฒิพงศ์ ได้รับใบเชิดชูเกียรติคุณจากรัฐบาลกลางเกาหลี และได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ความงามในยุคนั้นว่าเป็นแพทย์ต้นแบบ และผู้บุกเบิกการร้อยไหมละลายเกาหลีของเมืองไทย

ปัจจุบันเทคนิคการร้อยไหมได้มีการพัฒนาไปมาก ทั้งตัวไหมเองก็มีการพัฒนาขึ้นเพื่อให้ได้ผลการรักษาดีขึ้นและอยู่ได้นานขึ้น ไหมชนิดที่มีแง่งหรือมีกรวยก็ออกแบบใหม่ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อจะได้ไม่บอบช้ำมากหลังการรักษา ไหมเส้นเล็กชนิดที่ไม่มีแง่งก็ปรับเปลี่ยน เช่น ทำเป็นเส้นคู่บิดเกลียว เป็นต้น เทคนิคการร้อยไหมของคุณหมอพุฒิพงศ์ ใช้หลักการผสมผสาน ตามสภาพปัญหาและลักษณะโครงใบหน้า บางรายต้องมีการใช้ไหมหลายๆ ชนิดพร้อมๆ กัน หรืออาจต้องร้อยไหม 2 ชั้น เป็นต้น ทั้งนี้การร้อยไหมของคุณหมอพุฒิพงศ์ไม่เพียงช่วยเรื่องการยกกระชับแต่ยังสามารถช่วยปรับรูปหน้าได้ด้วย

อันที่จริงการร้อยไหมเพื่อการยกกระชับนั้นมีมานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเริ่มที่ยุโรป ในช่วงแรกๆใช้หลักการง่ายๆ คือใช้ไหมเย็บผิวส่วนที่หย่อนคล้อย ซึ่งโดยมากแล้วก็คือส่วนล่างของใบหน้า แล้วยกขึ้น นำไปผูกติดกับส่วนบนของใบหน้า ต่อมาก็พัฒนารูปแบบ โดยใช้เป็นไหมชนิดที่มีแง่งเกี่ยว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเย็บผูกติด แต่อาศัยแง่งเหล่านี้เป็นตัวเกี่ยวผิวไว้ แต่เนื่องจากไหมชนิดนี้มีเส้นใหญ่ ทำให้กระบวนการรักษาเกิดความบอบช้ำมาก และผลการรักษาก็ไม่เป็นธรรมชาติ อีกทั้งผิวหนังซึ่งเป็นเนื้ออ่อน และยืดหยุ่นได้ ทำให้ผลการรักษาอยู่ได้ไม่นาน การรักษาด้วยวิธีการร้อยไหมจึงไม่เป็นที่นิยม ทำให้คนไทยแทบไม่เคยได้ยินเรื่องการร้อยไหมเลยในช่วง 20 ปีก่อน

image 1

ปัจจุบันเทคนิคการร้อยไหมได้มีการพัฒนาไปมาก มีไหมรูปแบบต่างๆออกมาใหม่ มีชื่อเรียกใหม่เป็นร้อย ๆชื่อ ทั้งนี้เราสามารถแบ่งชนิดของไหมพอสรุปออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ

1. ไหมเกี่ยวผิว

ซึ่งมีลักษณะเป็นแง่งเกี่ยว หรือเป็นกรวย ไหมประเภทนี้มีขนาดใหญ่ อาศัยหลักการยึดเกี่ยวที่ผิวจากจุดหนึ่ง ดึงไปอีกจุดหนึ่ง คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าการร้อยไหมแบบนี้แล้วหน้าจะยกเหมือนผ่าตัดดึงหน้า ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นไม่ใช่เลย เพราะการผ่าดึงหน้าเป็นการดึง-ตัด-เย็บ-ผูก เนื้อเยื่อเหนียวแข็งส่วนที่เป็นเอ็น หรือเป็นพังผืดธรรมชาติของใบหน้าที่เรียกว่าชั้น SMAS (Superficial Muscular Aponeurotic System) ทำให้ดึงได้มาก และผลการรักษาอยู่นาน ในขณะที่การร้อยไหมแง่งเกี่ยว-ไหมก้าง การยึดเกี่ยวที่ชั้นผิวหนัง ซึ่งเป็นเนื้ออ่อน ทำให้ผลการดึงอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือน แง่ง-ก้างก็จะหลุดออกทำให้การรักษาไม่ได้ผล นอกจากนี้การเกี่ยวดึงชั้นผิวยังทำให้ผลการรักษาไม่ดูเป็นธรรมชาติ ดูหน้ายกแปลกๆเพราะหน้าจะถูกดึงยกจากจุดเกี่ยวผิวเพียงไม่กี่จุด และเป็นการดึงเกี่ยวจากผิวหนังชั้นบนเท่านั้น

ตัวอย่างไหมเกี่ยวผิวชนิดต่างๆ
ตัวอย่างการร้อยไหมเกี่ยวผิว
ก่อน หลังร้อยไหม

2. ไหมกระตุ้นผิว

เป็นไหมเส้นเล็ก มีหลายรูปแบบเช่นกัน ทั้งเส้นเดี่ยว เส้นคู่ เส้นเกลียว หลักการทำงานคือ กระตุ้นให้ผิวเกิดการหดรัด โดยการหดรัดจะมีทิศทางเข้าสู่จุดศูนย์กลางของใบหน้า ซึ่งก็คือโครงกระดูกของเรานั่นเอง และหลายๆคนก็เข้าใจผิด คิดว่าร้อยไหมแบบนี้แล้วหน้าจะถูกดึงยกเหมือนดึงหน้า ซึ่งอันที่จริง การร้อยไหมแบบนี้จะเริ่มเห็นผลเมื่อผิวเริ่มมีการรัดตัวจากการกระตุ้นของเส้นไหม ซึ่งจะค่อยๆเกิดขึ้นหลังร้อยไหม 3-4 สัปดาห์ไปแล้ว ใบหน้าจะค่อยๆถูกรัดและดูเข้ารูปมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป โดยเห็นผลสูงสุดที่ 4-5 เดือน ซึ่งตรงข้ามกับชนิดไหมเกี่ยวผิวที่จะเห็นหน้าถูกดึงยกในช่วงแรก และค่อยๆคลายหายไปเพราะแง่งเกี่ยวผิวหลุดในช่วง 4-5 เดือน

119739429 2675895026059523 7552705739746722651 n
119970797 825238208284333 4603002488124566825 n

ข้อควรระวังในการร้อยไหม

สิ่งที่น่ากลัวของการร้อยไหมก็คือ การติดเชื้อ ซึ่งพบได้บ่อยกว่าในการใช้ไหมเกี่ยวผิว เนื่องจากเส้นไหมค่อนข้างใหญ่ดังนั้นหากมีการติดเชื้อเกิดขึ้น การกินยาฆ่าเชื้อ หรือฉีดยาฆ่าเชื้อเข้าทางหลอดเลือดดำอาจไม่เพียงพอในการรักษาการติดเชื้อ อาจจำเป็นต้องเอาไหมออกด้วย แต่เนื่องจากไหมประเภทนี้มีแง่งเกี่ยวยึดผิว  การเลาะเอาไหมออกก็จะเป็นเรื่องยาก และเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายของเส้นเลือด เส้นประสาท อย่างมาก  ส่วนไหมกระตุ้นผิวพบปัญหาเหล่านี้น้อยกว่า และส่วนใหญ่การกินยาฆ่าเชื้อ หรือฉีดยาฆ่าเชื้อเข้าทางหลอดเลือดดำก็เพียงพอต่อการรักษาแล้ว 

สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาอีกเรื่องก็คือ เรื่องการเกิดพังผืดใต้ผิว เพราะไหมเกี่ยวผิวจะมีแกนกลางไหมที่ใหญ่มาก ถึงแม้แง่งเกี่ยวผิวจะละลายไปแล้ว และไหมไม่ช่วยดึงยกหน้าอีกต่อไปแล้วก็ตาม แต่แกนกลางเส้นไหมยังอยู่ไปอีกหลายปี เพราะมีขนาดใหญ่สลายตัวได้ช้ากว่ามาก และมีโอกาสทำให้เกิดพังผืดใต้ผิวได้ สำหรับไหมเส้นเล็กปัญหาเหล่านี้แทบไม่เกิด หากแพทย์ร้อยไหมได้ถูกวิธีถูกชั้นผิว

สำหรับไหมที่ทำจากวัสดุที่สลายตัวไม่ได้ เช่น ไหมซิลิโคน ไหมทอง เหล่านี้จะอยู่ในผิวยาวนานและอาจก่อให้เกิดปฏิกริยาสิ่งแปลกปลอมใต้ผิวได้ เสมือนการฉีดสารแปลกปลอมจำพวกซิลิโคน หรือฟิลเลอร์ชนิดไม่สลายตัว 

สุดท้ายต้องไม่ลืมว่า การร้อยไหมเป็นการแก้ผิวหนังซึ่งเป็นเนื้อเยื่อชั้นบนของใบหน้า และถ้าชั้นโครงของใบหน้าชั้นลึกเช่น กระดูก (อ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง ‘การฉีดฟิลเลอร์สัมผัสกระดูก’ หากไม่ได้รับการแก้ไขควบคู่กันไป ผลการรักษาจะออกมาไม่ดี หรือทำให้ใบหน้าดูไม่เป็นธรรมชาติ นั่นเอง