การฉีดฟิลเลอร์ด้วยเข็มปลายทู่
การฉีดฟิลเลอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่เน้นไปที่การรักษาการยุบตัวของกระดูก และเนื้อเยื่อชั้นลึกของใบหน้า ดังนั้นการฉีดจึงต้องฉีดลงลึก ซึ่งหากใช้เข็มแหลมคมขนาดเล็กย่อมมีโอกาสไปแทงถูกเส้นเลือดขนาดใหญ่ที่อยู่ชั้นลึกได้ และทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมา เช่น การเกิดเนื้อตาย หรือแม้แต่ถึงขั้นตาบอดที่พบเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้งเป็นต้น ดังนั้นการฉีดฟิลเลอร์ในปัจจุบันจึงใช้การฉีดด้วยเข็มไม่มีคมขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “เข็มปลายทู่” ซึ่งคุณหมอพุฒิพงศ์ ภูมิสุวรรณ ที่เป็นแพทย์ไทยคนแรกที่ใช้คำว่า ‘เข็มปลายทู่’ ในการเขียนบทความด้านความงาม ตีพิมพ์ในนิตยสารคอสเมติกมาตั้งแต่ปี 2554
ประโยชน์ของการฉีดฟิลเลอร์ด้วยเข็มปลายทู่
• ปลอดภัยจากอันตรายที่เข็มคมแทงถูกเส้นเลือด ซึ่งทำให้เกิดเนื้อเน่าตาย หรือถึงขั้นตาบอด
• การใช้เข็มปลายทู่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์ได้ละเอียดกว่า และไปวางบนกระดูกได้ดีกว่า
• เข็มปลายทู่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยเลาะพังผืดใต้ผิวได้ ทำให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้ายกได้ดีกว่า
• มีจุดเจาะรูเพื่อสอดเข็มเข้าไปใต้ผิวเพียง 1-2 จุด ก็สามารถฉีดได้ทั่วหน้า ต่างจากการฉีดด้วยเข็มคม ซึ่งต้องแทงเข้าผิวหลายสิบจุด ทำให้มีโอกาสถูกเส้นเลือด เกิดการบวมเขียวช้ำได้มากกว่า
ลักษณะของเข็มปลายทู่มีหลากหลายรูปแบบ
ในอดีตเมื่อ 10 ปีก่อน หรือช่วงแรก ๆที่คุณหมอพุฒิพงศ์ นำมาใช้ เข็มปลายทู่มีขนาดใหญ่มาก หลังการใช้งานก็ต้องล้างทำความสะอาด แล้วนำเข้าตู้อบฆ่าเชื้อเหมือนเครื่องมือผ่าตัดทั่วไป ปัจจุบันมีเข็มปลายทู่สำเร็จรูปซึ่งใช้แล้วทิ้งเลยเสมือนเข็มและหลอดฉีดยาทั่วไป สะดวกสบายกว่ามาก และยังมีหลากหลายขนาด และหลายรูปแบบให้เลือกใช้ แต่ก็มีเทคนิคอีกหลากหลายในการใช้เข็มปลายทู่สำหรับฉีดฟิลเลอร์ให้ได้ผลดี ซึ่งคุณหมอพุฒิพงศ์ ก็เป็นแพทย์ไทยคนแรกที่ได้วางหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ฉีดฟิลเลอร์ด้วยเข็มปลายทู่ มาตั้งแต่ปี 2554 และได้สอนทั้งแพทย์ไทย และแพทย์ต่างชาติไปแล้วหลายร้อยท่าน
เทคนิคการใช้เข็มปลายทู่เพื่อการฉีดฟิลเลอร์
- เลือกเข็มปลายทู่ที่มีรูเปิดให้ยาออกอยู่ที่ปลายเข็ม เพราะทำให้ฉีดยาได้ถูกตำแหน่งความลึก เนื่องจากเข็มปลายทู่บางยี่ห้อ มีรูเปิดให้ยาออกถัดจาก ปลายเข็มมาประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ซึ่งอาจทำให้การวางยาคลาดเคลื่อนไปจากจุดที่ต้องการ ในกรณีที่ต้องการความแม่นยำในการฉีด
- รูเปิดที่ปลายเข็มต้องไม่มีขอบที่คม เพราะถึงปลายเข็มจะทื่อไม่มีคม แต่หากขอบรูเปิดคม เวลาฉีดมันอาจไปเกี่ยวเส้นเลือดให้ฉีดขาดได้
- เลือกขนาดเข็มปลายทู่ให้เหมาะสมกับตัวยาฟิลเลอร์ที่จะใช้ และตำแหน่งที่จะฉีด เช่น ถ้าใช้ตัวยาฟิลเลอร์ชนิดแข็ง เข็มก็ต้องมีขนาดใหญ่เช่น 22 G หรือ 23 G และถ้าบริเวณบอบบางเช่นใต้ตา หรือริมฝีปาก ก็ควรใช้เข็มขนาดเล็กเช่น 25 G หรือ 27 G เป็นต้น (เลขเบอร์เข็มยิ่งมาก เข็มยิ่งเล็ก)
- เลือกความแข็ง-อ่อนนุ่ม ในการโค้งงอของเข็มปลายทู่ให้เหมาะสมกับจุดฉีด เช่นการฉีดบริเวณกระดูกโหนกแก้ม ซึ่งเป็นจุดที่ลึกมาก และมีเส้นเอ็นเหนียวแข็ง เราควรใช้เข็มทู่ที่แข็ง ไม่โค้งงอง่าย ในขณะที่การฉีดบริเวณหน้าผากซึ่งเนื้อบาง และกระดูกมีความโค้ง เราก็ควรใช้เข็มที่สามารถโค้งงอไปตามแนวกระดูกได้
- ข้อสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ แพทย์ต้องมีประสบกรณ์ และความรู้ในเรื่องกายวิภาคศาสตร์ของใบหน้า จึงจะสามารถใช้เข็มปลายทู่ฉีดฟิลเลอร์ได้อย่างปลอดภัย
ทั้งนี้ AIC Clinic เป็นศูนย์ฝึกอมรม สอนแพทย์ฉีดฟิลเลอร์มาตั้งแต่ปี 2554 มีแพทย์ที่ผ่านการอบรมไปแล้วมากกว่า 500 ท่าน ทุกท่านที่มาใช้บริการจึงมั่นใจได้ว่า ท่านจะได้รับการรักษาจากแพทย์อันดับ 1 ตัวจริงในด้านนี้