รวมเรื่องที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการฉีดแก้ฟิลเลอร์

แก้ฟิลเลอร์

หลังจากฉีดฟิลเลอร์แล้วคุณอาจจะเจอกับปัญหาต่างๆ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะสามารถฉีดแก้ฟิลเลอร์ได้

ฟิลเลอร์คือสารเติมเต็มชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปกรดไฮยาลูรอน โดยมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสารที่อยู่ตามธรรมชาติใต้ชั้นผิว และสามารถสลายได้เอง ไม่ตกค้างในร่างกาย ทั้งยังมีความปลอดภัยสูงอีกด้วย ฟิลเลอร์ที่ดีจะได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยาของประเทศไทย อย่างไรก็ดีการฉีดฟิลเลอร์มีเทคนิคเฉพาะตัว และต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงควรใส่ใจตั้งแต่เริ่มต้นเลือกคลินิกและเลือกแพทย์ที่ชำนาญโดยเฉพาะ สำหรับเรื่องที่ควรรู้ของการฉีดฟิลเลอร์ไปจนถึงการแก้ฟิลเลอร์มีดังต่อไปนี้

 

อันตรายของการฉีดฟิลเลอร์มีหรือไม่ การแพ้ฟิลเลอร์เป็นอย่างไร

หลายคนสนใจฉีดฟิลเลอร์แต่ลังเลเพราะเกรงอันตรายหรือผลข้างเคียง รวมไปถึงการแพ้ฟิลเลอร์ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นการฉีดฟิลเลอร์ถือเป็นหัตถการที่ค่อนข้างมีความปลอดภัยสูง ไม่เป็นอันตราย หากเลือกใช้ฟิลเลอร์แท้และได้รับการรับรองมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม อาจมีบางคนที่ฉีดแล้วเกิดผื่นบวมแดงและคันในบริเวณที่ฉีด นั่นหมายความว่าฟิลเลอร์ที่ได้รับเป็นฟิลเลอร์ปลอม ไม่สามารถสลายไปได้เอง

แก้ฟิลเลอร์

หรือบางกรณีได้แก่การฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่ไม่ชำนาญมากพอ อาจส่งผลให้ฟิลเลอร์เคลื่อนตัวไปจากจุดที่ฉีด สาเหตุมาจากการที่แพทย์คำนวณปริมาณฟิลเลอร์ผิดพลาด บางครั้งอาจเกิดจากการฉีดผิดตำแหน่ง ส่งผลให้ฟิลเลอร์ย้อย เป็นก้อน หรือเคลื่อนตัว ทำให้ต้องแก้ฟิลเลอร์ในภายหลัง

 

อาการผิดปกติหลังฉีดฟิลเลอร์

สำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือฉีดกับบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ อาจเกิดอาการผิดปกติและเป็นอันตรายได้ และอาการผิดปกตินั้นมีดังต่อไปนี้

1.ตาพร่ามัว

อาการตาบอดเกิดขึ้นได้จากการฉีดฟิลเลอร์แล้วพลาดเข้าเส้นเลือดที่เลี้ยงบริเวณลูกตา ทำให้ตาขาดเลือดและตาบอด อย่างไรก็ดีนี่เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดฟิลเลอร์ที่พบได้น้อยมาก ในกรณีที่แพทย์ฉีดฟิลเลอร์เข้าไปที่บริเวณเส้นเลือดดังกล่าวแล้วคนไข้เริ่มมีอาการตาพร่ามัว สามารถทำการฉีดสลายฟิลเลอร์และแก้ไขได้เป็นปกติหากกระทำภายในระยะเวลา 90 นาที ซึ่งการมองเห็นจะกลับมาเป็นปกติได้โดยไม่เกิดตาบอด แต่หากว่าปล่อยเอาไว้นานกว่านั้นก็มีโอกาสตาบอดได้เช่นกัน แพทย์ที่ชำนาญจะสามารถแก้ฟิลเลอร์แบบนี้ได้

แก้ฟิลเลอร์

2.อัมพาต

เกิดจากเนื้อเจลฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด จากนั้นผ่านเข้าไปอุดเส้นเลือดที่เลี้ยงสมอง และทำให้ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง แต่อาจพบได้น้อยมาก ในกรณีนี้ต้องฉีดแก้ฟิลเลอร์ในทันที

3.ผิวหนังขาดเลือด

ผิวหนังขาดเลือดเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือดซึ่งเลี้ยงผิวหนังบริเวณนั้นๆ ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยคือเกิดการเปลี่ยนแปลงผิวหนังก่อนเนื้อตาย ซึ่งอาการที่แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติมีดังต่อไปนี้

– ปวดในจุดที่ฉีดมากกว่าปกติ

– ผิวหนังสีซีดจางลง

– ผิวหนังลาย มีลักษณะเป็นร่างแหอันมาจากเส้นเลือด

– ผิวหนังเปลี่ยนสีจากสีเนื้อกลายเป็นน้ำเงินอมเทา

– เมื่อกดผิวหนังบริเวณนั้นเป็นเวลา 5 วินาทีแล้วปล่อย เลือดจะวิ่งกลับมาช้ากว่า 2 วินาทีจากปกติจะใช้เวลา 1 วินาที

– อุณหภูมิของผิวหนังผิดปกติเช่น ร้อนเกินไป เย็นเกินไป

– มีตุ่มหนองเล็กหลายๆ ตุ่ม โดยมักจะเกิดหลังจากฉีดฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด 2-3 วัน
– ผิวหนังดำคล้ำ เกิดเนื้อตาย มีสะเก็ดและเป็นแผล

แก้ฟิลเลอร์

4.มีอาการติดเชื้อ

อาการติดเชื้อมักเกิดจากการใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือบางกรณีจุดที่ฉีดฟิลเลอร์มีสิวอักเสบอยู่ เมื่อฉีดฟิลเลอร์จึงทำให้แบคทีเรียเข้าไปได้ โดยลักษณะอาการที่พบได้แก่ ปวดบวม ผิวมีสีแดง อุณหภูมิของผิวร้อนกว่าเดิม บางครั้งมีตุ่มหนองในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เข้าไป และมักเป็นเฉพาะจุดก่อน จากนั้นจึงลุกลามไปเรื่อยๆ หากพบว่ามีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์ทันทีและไม่ควรปล่อยเอาไว้ เพราะจะทำให้การติดเชื้อลุกลามได้

5.อาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรง

อาการชาและอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง มาจากเส้นประสาทที่บาดเจ็บ โดยสาเหตุเกิดจากช่วงที่บล็อกยาชา หรือขั้นตอนที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วเข็มไปกระแทกโดยเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดอาการอักเสบได้นั่นเอง จะต้องทำการฉีดเพื่อแก้ฟิลเลอร์

6.แพ้ฟิลเลอร์

คนไข้อาจมีอาการบวมหรือผิวมีสีแดง บางครั้งอาจมีผื่นขึ้นในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งมักจะไม่มีอาการปวดหรือเจ็บร่วมด้วย และมักจะพบอาการเหล่านี้ในบริเวณผิวหนังที่มีสารฟิลเลอร์อยู่ อาการแพ้ฟิลเลอร์พบได้น้อยมาก เพราะฟิลเลอร์แท้เป็นสารไฮยาลูรอนิกแอซิด ส่วนมากจะพบในฟิลเลอร์ชนิดอื่นมากกว่า และอาจไม่ได้พบอาการเหล่านี้หลังจากฉีดทันที แต่พบหลังจากฉีดเป็นเดือนแล้วก็ได้ ทำให้คนไข้ต้องพบแพทย์เพื่อแก้ฟิลเลอร์ในภายหลัง

แก้ฟิลเลอร์

 

จุดที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วอันตราย

ทุกคนต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่าฟิลเลอร์แท้คือสารที่ไม่เป็นอันตราย ปลอดภัยต่อการฉีด แต่อย่างไรก็ดีบางจุดก็ถือว่าเสี่ยงสำหรับการฉีดฟิลเลอร์เช่นกัน เพราะเป็นจุดที่มีเส้นเลือดอยู่จำนวนมากและยังเชื่อมต่อไปยังจุดอื่นๆ อีกด้วย เช่น บริเวณดวงตา ซึ่งจุดที่เสี่ยงอันตรายต่อการตาบอดได้แก่ 4 จุดนี้

1.ฟิลเลอร์ร่องระหว่างคิ้ว

การฉีดฟิลเลอร์แก้ไขระหว่างร่องคิ้ว ควรระมัดระวังเส้นเลือดที่อยู่จุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากว่าแพทย์ไม่มีความชำนาญพอ อาจฉีดฟิลเลอร์พลาดเข้าเส้นเลือดได้ ส่งผลให้เส้นเลือดอุดตันและเกิดอาการบวมแดง เป็นก้อน เนื้อตาย หรือตาบอด

2.ฟิลเลอร์จมูก

เป็นจุดยอดนิยมของคนที่ต้องการมีสันจมูก หรือต้องการปรับทรงจมูกเล็กน้อย โดยจมูกเป็นจุดรวมของเส้นเลือดที่มีหลายเส้นและส่งไปถึงตาโดยตรง หากฉีดพลาดไปเล็กน้อยอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นหากว่าใครที่ต้องการเสริมจมูก แต่ไม่กล้าผ่าตัด อาจเลือกคลินิกที่แพทย์มีความชำนาญจะดีที่สุด

3.ฟิลเลอร์หน้าผาก

หน้าผากมีความเสี่ยงไม่น้อยไปกว่าจมูก เนื่องจากว่าบริเวณหน้าผากมีเส้นเลือดจำนวนมาก และเส้นเลือดก็ส่งตรงถึงประสาทตาเช่นเดียวกัน ที่สำคัญการฉีดฟิลเลอร์หน้าผากยังเสี่ยงกับหน้าผากเป็นก้อน หรือเป็นคลื่นทำให้ไม่สวยงามนั่นเอง

4.ฟิลเลอร์ร่องแก้ม

เส้นเลือดร่องแก้มอยู่จุดเดียวกับร่องแก้ม ทำให้มีโอกาสพลาดสูงมาก และทำให้เกิดผลข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อจากฟิลเลอร์เข้าไปอุดตันในเส้นเลือด  ทางที่ดีที่สุด คนไข้ควรเลือกฉีดกับแพทย์ที่มีประสบการณ์เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียง หรือร่องแก้มสวยเป็นธรรมชาติไม่เป็นก้อน

แก้ฟิลเลอร์

 

อาการข้างเคียงที่ต้องระวัง

หลังจากฉีดฟิลเลอร์ผ่านไปแล้ว 6 ชั่วโมง หากว่าอาการชายังไม่หายไปควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้ทำการฉีด เนื่องจากอาจเป็นอาการเส้นประสาทบาดเจ็บได้ เพราะเวลา 6 ชั่วโมงเป็นเวลาที่ยาชาหมดฤทธิ์แล้วนั่นเอง

 

วิธีแก้ฟิลเลอร์ที่แพทย์ส่วนใหญ่นิยม

1.แก้ฟิลเลอร์ด้วยการเติมฟิลเลอร์ใหม่

สำหรับวิธีการนี้สามารถแก้ไขได้ในบางปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน หรือมีปัญหาแก้มแบน หย่อน ก่อนจะฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา โดยแพทย์จะพิจารณาว่าสามารถเติมเข้าไปใหม่ได้เลยหรือต้องสลายฟิลเลอร์เดิมออกไปก่อน หรือเติมฟิลเลอร์หน้าผากแล้วเป็นก้อนไม่เรียบ แพทย์จะเติมฟิลเลอร์เข้าไปที่บริเวณบุ๋มได้เพื่อให้เกิดความเรียบเนียน

2.ฉีดสลายฟิลเลอร์

การใช้สารไฮยาเลส ฉีดสลายฟิลเลอร์ สามารถแก้ไขได้เฉพาะฟิลเลอร์ไฮยาลูรอนิคแอซิด หลังจากที่ฉีดไปแล้วประมาณ 3-7 วัน ฟิลเลอร์ที่เป็นก้อนจะสลายจนหมด แต่หากว่าเป็นฟิลเลอร์เนื้อแข็ง หรือฉีดในปริมาณมาก อาจต้องกลับมาฉีดซ้ำสลายจนหมด

แก้ฟิลเลอร์

3.เจาะออก

สำหรับกรณีที่ฟิลเลอร์เป็นก้อนนิ่มและไม่มีพังผืดมาเกาะ ก็สามารถเจาะออกได้ แต่จะไม่สามารถเอาออกได้จนหมด เอาออกได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์

4.ผ่าตัดและขูดฟิลเลอร์ออก

สำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์แต่ไม่สามารถสลายได้ เช่น ซิลิโคนเหลว ลักษณะเป็นก้อนแข็ง มักจะมีพังผืดมายึดรอบๆ จำนวนมาก อย่างไรก็ดีวิธีการนี้ไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ออกได้หมด แม้จะผ่าตัดก็ตามที

แก้ฟิลเลอร์

สำหรับผู้ที่มีฟิลเลอร์เป็นก้อน อักเสบและติดเชื้อ ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด และแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อเพื่อควบคุมเชื้อไม่ให้แพร่กระจาย และสลายออกในขั้นตอนต่อไป หากต้องการผลลัพธ์ที่ดีและปลอดภัยในการฉีดฟิลเลอร์ ควรเลือกแพทย์ที่ชำนาญ เลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน