รวมเรื่องที่หลายคน เข้าใจผิด เกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์

หน้าบวมจากฟิลเลอร์ และฉีดสลายฟิลเลอร์

เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาการหน้าบวมจากฟิลเลอร์ และฉีดสลายฟิลเลอร์

การบวมฟิลเลอร์ จะเกิดขึ้นกับผู้ที่รับการฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งอาการบวมจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน รวมถึงเทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ของแพทย์ หากแพทย์มีเทคนิคการฉีดที่ดีหรือมีความชำนาญก็จะช่วยลดอาการบวมได้ โดยหลังจากที่ฉีดฟิลเลอร์จะเห็นได้ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทันที ไม่ว่าจะเป็นคางที่ยาวกว่าเดิม เป็นทรงมากขึ้น หรือบางคนที่ฉีดใต้ตาก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าใต้ตาเต็มและอิ่มขึ้น ซึ่งการรอดูผลลัพธ์ฉีดฟิลเลอร์ ควรดูในช่วง 14 วัน ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับฟิลเลอร์และการฉีดสลายฟิลเลอร์มีอะไรบ้าง มาดูไปพร้อมกัน

 

1.คำว่าบวมเข็มฟิลเลอร์ไม่มีจริง

ความเข้าใจผิดประการแรกของคนที่กำลังศึกษาเรื่องการฉีดฟิลเลอร์คือ เข้าใจไปว่าอาการบวมเข็มไม่มีจริง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาการบวมเข็มเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้หลังจากที่ฉีดฟิลเลอร์ เพราะว่าการฉีดฟิลเลอร์คือการนำเอาเข็มเข้าไปในเนื้อ และทำให้ฟิลเลอร์เติมเต็มที่ผิวหนัง จึงเกิดอาการบวมเข็มขึ้นได้

หน้าบวมจากฟิลเลอร์ และฉีดสลายฟิลเลอร์2

 

2.ผิวบวมหลังจากฉีดฟิลเลอร์เป็นสิ่งที่ควบคุมได้

หลายคนมักจะเข้าใจไปว่าผิวหลังจากที่ฉีดฟิลเลอร์เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ ซึ่งความเข้าใจนี้ทั้งถูกและผิด เพราะการบวมจากคุณสมบัติของเนื้อฟิลเลอร์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ด้วยคุณสมบัติที่ฟิลเลอร์เป็นกรดไฮยาลูรอนิค แอซิด ซึ่งจะกักเก็บและอุ้มน้ำเอาไว้ ส่งผลให้ตำแหน่งที่ฉีดเกิดอาการบวมกว่าเดิม

 

3.ฉีดแล้วบวมเป็นเพราะติดเชื้อเท่านั้น

บางคนเข้าใจไปว่าที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าบวม เป็นเพราะเกิดอาการติดเชื้ออย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการบวมเพราะติดเชื้อเกิดจากการเลือกยี่ห้อหรือรุ่นของฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสมกับบริเวณที่ฉีด หรือบางคนเทคนิคการฉีดของแพทย์ไม่เหมาะสม ฉีดตื้นเกินไป ทำให้เห็นเนื้อฟิลเลอร์เป็นก้อนนูนขึ้นมาได้ กรณีที่คนไข้ฉีดฟิลเลอร์แท้ ก็สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ที่เป็นก้อนและนูนออกได้ด้วยสารสลายฟิลเลอร์เช่นกัน

 

4.ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมเป็นอันตรายถึงชีวิต

ความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างยิ่ง เพราะอันตรายของอาการบวมฟิลเลอร์ไม่ถึงแก่ชีวิตแต่อย่างใด บางครั้งที่ฉีดแล้วบวมอาจเกิดจากอาการบวมเข็มก็ได้ หรือหากว่าบวมจากการใช้ฟิลเลอร์ปลอม ก็ถือว่าเป็นกรณีที่อันตรายอย่างยิ่ง ควรรีบทำการแก้ไข ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการฉีดฟิลเลอร์ ไม่เสี่ยงต่อการเจอกับฟิลเลอร์ปลอม คนไข้ควรตัดสินใจก่อนฉีดฟิลเลอร์อย่างละเอียด โดยฉีดฟิลเลอร์กับผู้ที่มีความชำนาญเท่านั้น ไม่ควรเห็นแก่ของถูก เพราะอาจจะเจอกับฟิลเลอร์ปลอมได้ ทางที่ดีควรใช้บริการกับคลินิกที่น่าเชื่อถือและได้มาตรฐานเท่านั้น

หน้าบวมจากฟิลเลอร์ และฉีดสลายฟิลเลอร์3

 

5.ฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าบวมไม่มีวิธีแก้

การฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าบวมนั้นมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ดี ความเข้าใจว่าหากหน้าบวมจากฟิลเลอร์จะไม่มีวิธีแก้เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะกรณีที่บวมจากเข็มหรือบวมจากคุณลักษณะของฟิลเลอร์ที่ดูดน้ำไว้กับตัว อาการบวมจะหายไปได้เองในเวลา 5-7 วัน แต่หากว่าฉีดฟิลเลอร์แท้แล้ว 3-4 สัปดาห์แล้วยังมีอาการบวมเข็มอยู่ หรือเห็นเป็นก้อนนูน ก็สามารถใช้สารไฮยาลูรอนิเดสฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ ซึ่งการฉีดสลายฟิลเลอร์ เป็นการใช้ตัวยาไฮยาลูรอนิเดสฉีดเข้าไปสลายฟิลเลอร์แท้ ด้วยแพทย์ที่ชำนาญการ จะทำการคำนวณตัวยาที่เหมาะสมในการฉีดสลายซึ่งมาจากข้อมูลที่คนไข้แจ้งว่าฉีดฟิลเลอร์มาแล้วกี่ซีซี เพื่อให้ได้ปริมาณยาสลายที่ถูกต้อง รวมถึงไม่กระทบกับเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ และหลังจากที่ฉีดสลายจะเห็นผลทันทีในบางจุด แต่จะเห็นผลชัดเจนใน 2-3 วันให้หลัง หากต้องการฉีดฟิลเลอร์ใหม่ ต้องเว้นระยะเวลา 1 สัปดาห์หลังจากที่ฉีดสลายไปแล้วจะดีที่สุด

 

6.ผื่นขึ้นจากฟิลเลอร์เป็นเรื่องปกติ

บางคนเข้าใจไปว่าผื่นขึ้นจากการฉีดฟิลเลอร์เป็นเรื่องปกติ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วนั้นการรู้สึกคันในบริเวณที่ฉีดและมีผื่นขั้น หรือมีอาการบวมร่วมด้วยก็มักจะเกิดจากการแพ้สารบางชนิดในฟิลเลอร์ โดยอาการแพ้ฟิลเลอร์จะพบได้น้อยมาก หากว่าเกิดอาการแพ้หนัก หรือหายใจไม่ออกก็ควรพบแพทย์ในทันที

 

7.ไม่มีวิธีลดการบวมเข็มฟิลเลอร์

สิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิดคือเข้าใจไปว่าไม่มีวิธีลดอาการบวมเข็มฟิลเลอร์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ววิธีลดอาการบวมเข็มจากฟิลเลอร์ทำได้หลายต่อหลายอย่างดังต่อไปนี้

– ดื่มน้ำมากๆ การดื่มน้ำมากๆ หลังฉีดฟิลเลอร์จะช่วยให้ฟิลเลอร์ฟูสวยกว่าเดิม และอยู่ได้นานกว่าเดิม นอกจากนี้ยังช่วยในการลดบวมได้เป็นอย่างดี ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไม่หนืด

– ประคบเย็น ในการประคบเย็นจะช่วยให้ฟิลเลอร์บวมน้อยลงได้ เหมาะสมกับคนที่ต้องการลดอาการบวม ซึ่งก่อนจะประคบแนะนำว่าให้ตรวจสอบถึงวัตถุที่จะนำมาประคบว่าสะอาดเพียงพอหรือไม่ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อนได้

– หนุนหมอนสูง เพราะการนอนหมอนแบนราบ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ใบหน้าและส่งผลให้หน้าบวมกว่าเดิม หากว่าหนุนหมอนสูงจะทำให้อาการบวมหายได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม

– งดของดอง การรับประทานของดอง หรือของที่เค็มจัด อาจทำให้ผิวบริเวณนั้นอักเสบ และอาการบวมหายได้ช้ากว่าเดิม ดังนั้นควรงดไปประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากฉีด

– รับประทานยา หากต้องการให้อาการบวมหายได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม สามารถรับประทานยาที่ช่วยลดอาการบวมได้

หน้าบวมจากฟิลเลอร์ และฉีดสลายฟิลเลอร์4

 

8.ฉีดฟิลเลอร์คางไม่ทำให้เกิดอาการบวม

แท้จริงไม่ว่าจะฉีดฟิลเลอร์บริเวณใดก็สามารถบวมได้ และหากว่าฉีดโดยใช้ฟิลเลอร์ปลอมหรือฟิลเลอร์ที่ไม่มีมาตรฐาน ก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้เป็นผลข้างเคียงอันตรายได้เช่นกัน นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้เองก็ยังไม่ถาวร ต้องกลับมาฉีดซ้ำหลังจากที่ฟิลเลอร์สลายไปหมดแล้ว หรือหากว่าใครที่ฉีดกับแพทย์ซึ่งไม่มีความชำนาญ อาจทำให้คางผิดรูปหรือไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงใดๆ อีกด้วยนั่นเอง

 

9.ฉีดสลายฟิลเลอร์มีความอันตราย

การฉีดสลายฟิลเลอร์จะใช้เอนไซม์ไฮยาลูรอนิเดส ซึ่งถือว่าเป็นหัตถการที่ปลอดภัยอย่างยิ่ง ทำโดยแพทย์ที่มีความชำนาญในการกำหนดโดสยาที่เหมาะสมกับปริมาณของฟิลเลอร์ที่สลายออกไป ปกติแล้วก่อนการฉีดแพทย์จะมีการทดสอบที่ผิวหนังก่อนว่าคนไข้แพ้เอนไซม์ชนิดนี้หรือไม่ และมีการสอบถามประวัติคนไข้ว่าเคยแพ้เหล็กในผึ้งหรือไม่ เพราะคนไข้กลุ่มนี้จะแพ้สารไฮยาลูรอนิเดสเช่นกัน

หน้าบวมจากฟิลเลอร์ และฉีดสลายฟิลเลอร์5

 

10.ไม่สามารถฉีดสารสลายฟิลเลอร์เพิ่มเติมได้

หลังจากที่ฉีดสลายฟิลเลอร์เรียบร้อยแล้ว จะไม่สามารถเติมฟิลเลอร์เข้าไปใหม่ได้เลย เพราะตัวยาสลายฟิลเลอร์จะทำงานต่อไปอีก 1 สัปดาห์ หากว่าคนไข้ฉีดฟิลเลอร์เพิ่มเติมเข้าไปอาจส่งผลให้เกิดการย่อยสลายฟิลเลอร์ใหม่ได้ ซึ่งระยะเวลาที่แพทย์จะแนะนำให้คนไข้เติมฟิลเลอร์ใหม่เข้าไป ควรเว้นระยะเวลาห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์จะดีที่สุด แต่สารสลายฟิลเลอร์สามารถฉีดเติมเข้าไปใหม่ได้หากพ้นระยะเวลา 1 สัปดาห์ไปแล้วแต่ฟิลเลอร์เดิมยังสลายออกไปไม่หมด

 

11.ฟิลเลอร์ปลอมก็สามารถฉีดสารสลายได้

ฟิลเลอร์ปลอมหรือฟิลเลอร์ที่ไม่ใช่ชนิดไฮยาลูรอน หรือไม่ใช่ฟิลเลอร์ที่ผ่านองค์การอาหารและยา ตัวเอนไซม์ไฮยาลูรอนิเดสจะไม่สามารถเข้าไปสลายได้ หากต้องการกำจัดออก ต้องใช้วิธีอื่น เช่นการเจาะ หรือผ่าตัดขูดออก เป็นต้น ในกรณีของคนไข้บางรายที่มีประวัติเกี่ยวกับฟิลเลอร์ที่ฉีดไม่ชัดเจน อาจลองฉีดสลายก่อนก็ได้เช่นกัน เพราตัวเอนไซม์ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ

หน้าบวมจากฟิลเลอร์ และฉีดสลายฟิลเลอร์6

หากว่าใครที่กำลังศึกษาเรื่องฟิลเลอร์ สามารถศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อลดปัญหาความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหลังจากฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วนั่นเอง